ข้อบังคับ

สมาคมสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 



หมวด 1

ชื่อ  เครื่องหมาย  และสถานที่ตั้ง


ข้อ  1  สมาคมนี้มีชื่อว่า  สมาคมสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย  ซึ่งในข้อบังคับนี้จะเรียกว่า   
           “สมาคม”  มีชื่อย่อว่า  สพ.กทพ.   และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า  Expressway  Club
ข้อ  2  เครื่องหมายของสมาคม  เป็นรูปสะพานพระราม 9  ทอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา  เหนือสะพานมี
           ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมีโดยรอบเก้าแฉก  อยู่ภายในกรอบวงกลมสองวง  ในระหว่างวงกลมสองวง 
           มีอักษรไทยข้อความว่า “สมาคมสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย” ภายในวงกลมวงใน
           ใต้แม่น้ำเจ้าพระยา  มีอักษรไทยข้อความว่า “สพ.กทพ.”
             สีสัญลักษณ์ของสมาคม คือ  สีน้ำเงินแก่ (สีกรมท่า)   และสีแสด
             ธงประจำสมาคม  มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า  แบ่งเป็นสองแถบเท่ากัน แถบบนสีน้ำเงินแก่         
           (สีกรมท่า)  และแถบล่างสีแสด  เรียงตามแนวนอน  มีขนาดตามความเหมาะสมแก่การใช้




             ต้นไม้ประจำสมาคม  คือ  ต้นคอร์เดีย




             สัตว์นำโชค  คือ  นกกางเขน




ข้อ  3  สำนักงานของสมาคม  ตั้งอยู่ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย  2380  ถนนพหลโยธิน  แขวง
           เสนานิคม  เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร

หมวด  2


วัตถุประสงค์


ข้อ  4  วัตถุประสงค์ของสมาคม
            1.  เพื่อส่งเสริมการกุศล  และประกอบการกุศลสาธารณะ
            2.  ส่งเสริมการศึกษา
            3.  ส่งเสริมการกีฬาและบันเทิง        
            4.  ส่งเสริมศีลธรรมจรรยา
            5.  ส่งเสริมสามัคคีในระหว่างสมาชิก
            6.  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับความเดือดร้อน
            7.  เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของ กทพ. 
            8.  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินภารกิจตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ กทพ. ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้
                   เต็มศักยภาพทุกด้าน  รวมทั้งช่วยดูแล  ทำนุบำรุง  ป้องกัน พิทักษ์รักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของ 
                 กทพ. 
  9.  จัดทำให้มีการดำเนินกิจการเกี่ยวกับวารสาร  นิตยสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของ
                          สมาคม  ชมรมสมาคม หรือ  กทพ. หรือข่าวสารอื่น
10.  จัดทำ  จัดหา หรือจัดให้มีของที่ระลึกหรือสิ่งของอย่างอื่นตามวาระโอกาสหรือเทศกาล  จำหน่าย   จ่าย  แจก แก่
                  สมาชิกสมาคมหรือบุคคลทั่วไป 
            ทั้งนี้  ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง


หมวด  3
สมาชิก


ข้อ  5  สมาชิกของสมาคมมี  3  ประเภท  คือ
            (1)  สมาชิกสามัญ  ได้แก่  ผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
                   ก.  เป็นพนักงาน  กทพ. 
                   ข.  เคยเป็นพนักงาน  กทพ. 
                   ค.  ผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน  คู่สมรสของบุคคลดังกล่าวใน ก. และ ข.
           (2)  สมาชิกกิตติมศักดิ์  ได้แก่  บุคคลที่ได้อุปการะช่วยเหลือทำประโยชน์ให้แก่สมาคม หรือ
                  เป็นเกียรติแก่สมาคมเป็นกรณีพิเศษ ที่คณะกรรมการของสมาคมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญ
                  เข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
           (3)  สมาชิกวิสามัญ  ได้แก่  บุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้เป็นพนักงาน  กทพ.
ข้อ  6  การเป็นสมาชิก
           ผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ  7  เมื่อถึงคราวประชุมคณะกรรมการอำนวยการ  เลขานุการจะนำรายชื่อผู้สมัครเสนอต่อที่ประชุม  
           เมื่อคณะกรรมการได้ลงมติรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกแล้ว  ให้เลขานุการประกาศนามผู้สมัคร
           นั้นไว้  ณ  สำนักงานของสมาคมไม่น้อยกว่า  15  วัน  เมื่อไม่มีสมาชิกผู้ใดทักท้วงให้เลขานุการ
           แจ้งไปยังผู้สมัครเพื่อบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าลงชื่อและค่าบำรุงภายใน  30  วัน
ข้อ  8.  ถ้าปรากฏว่าระหว่างการประกาศนามผู้สมัครเป็นสมาชิกนั้น  มีสมาชิกยื่นคำทักท้วงเป็นลาย
           ลักษณ์อักษร  ให้เลขานุการดำเนินการสอบสวนหลักฐาน  และนำเสนอที่ประชุมคณะกรรม
           การอำนวยการสมาคมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  มติของคณะกรรมการอำนวยการสมาคมครั้งที่  2  
           นี้เป็นเด็ดขาด
ข้อ  9  สมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญ  ต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นสมาชิกและค่าบำรุงดังนี้คือ
           (1)  ค่าลงทะเบียน    20   บาท
           (2)  ค่าบำรุง             300  บาท
           (3)  การเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงให้ชำระเมื่อแรกเข้าเพียงครั้งเดียว
           (4)  สมาชิกที่เสียค่าบำรุงแรกเข้าแล้วให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากบริการของสมาคมภาย              
                 ในขอบเขตวัตถุประสงค์และระเบียบข้อบังคับของสมาคม
ข้อ  10  สิทธิของสมาชิกมีดังนี้    
             (1)  มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคม
             (2)  มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคม    
             (3)  มีสิทธิเข้าฟังการประชุมและแสดงความคิดเห็น  แต่สมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิเสนอ
                    ญัตติและออกเสียงลงคะแนน  หรือได้รับเลือกเป็นกรรมการ
ข้อ  11  หน้าที่ของสมาชิก
             (1)  ปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม  และระเบียบซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดโดยเคร่งครัด
             (2)  ส่งเสริมและร่วมมือในกิจการของสมาคม
ข้อ  12  การขาดจากสมาชิกภาพ
             (1)  ตาย
             (2)  ลาออก  โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงคณะกรรมการ
             (3)  คณะกรรมการมีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน  เมื่อสมาชิกนั้น
                    ก.  ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาของศาล  เว้นแต่ในความผิดลหุโทษหรือฐานประมาท หรือ
                         ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย  ไร้ความสามารถ  หรือเสมือนไร้ความสามารถ
                    ข. ประพฤติตนในทางเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาคม  หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม 
                    ค.  มีหนี้สินกับสมาคมเกินกว่าที่สมาคมกำหนดไว้ในระเบียบ

หมวด  4

กรรมการ


ข้อ  13  การบริหารสมาคมเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร  ซึ่งประกอบด้วย นายกสมาคม  
             ซึ่งในข้อบังคับนี้  เรียกว่า  “นายกสมาคม”  1 คน  และกรรมการที่นายกสมาคมแต่งตั้งอีกไม่เกิน 14 คน      
                  ให้นายกสมาคมแต่งตั้งสมาชิกสามัญเป็นคณะกรรมการ  ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
                       อุปนายก
                       เลขานุการ
                       เหรัญญิก
                       นายทะเบียน 
                       ปฏิคม
                       กรรมการอื่น ๆ 
         นายกสมาคมอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี  ถ้าตำแหน่งนายกสมาคมว่างลงเพราะเหตุอื่น
            นอกจากถึงคราวออกตามวาระ  ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งนายกสมาคมขึ้นใหม่  และให้อยู่ใน
            ตำแหน่งคราวละ  4  ปีนับแต่วันที่ได้รับเลือกตั้งดังกล่าว 
         กรรมการที่นายกสมาคมแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระการดำรงตำแหน่งของนายก 
            สมาคม  ถ้าตำแหน่งว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ    ให้นายกสมาคมแต่ง
            ตั้งสมาชิกสามัญเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ให้กรรมการนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียง
            เท่าเวลาของวาระการดำรงตำแหน่งของนายกสมาคมที่เหลืออยู่
ข้อ  14  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
ก. บริหารกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ข. กำหนดระเบียบและวิธีการ โดยไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และข้อบังคับของสมาคม
ค. นายกมีหน้าที่ควบคุมกิจการของสมาคม  และเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการที่เกี่ยวกับ
                   บุคคลภายนอก  
อุปนายก  มีหน้าที่ทำการแทนนายกเมื่อนายกไม่อยู่หรือไม่สามารถทำการได้  และ
             เป็นผู้ช่วยนายก  และปฏิบัติการใด ๆ ที่นายกมอบหมาย
เลขานุการ  มีหน้าที่นัดประชุมกรรมการ  นัดประชุมใหญ่  จัดและรักษารายงานการ
             ประชุม  ติดต่อกับสมาชิกและบุคคลภายนอกในเรื่องทั่ว ๆ ไป และกิจการอื่น ๆ ที่มิได้อยู่ใน
             อำนาจหรือหน้าที่ของกรรมการอื่นโดยเฉพาะ
เหรัญญิก  มีหน้าที่รับจ่ายและรักษาเงิน ตลอดจนการทำบัญชีและรักษาเอกสารต่าง ๆ 
             เกี่ยวกับการเงิน
นายทะเบียน  มีหน้าที่ทำและรักษาทะเบียนสมาชิก  ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ
             การเป็นสมาชิก
ปฏิคม  มีหน้าที่ต้อนรับสมาชิกและแขกของสมาคมหรือสมาชิก และรักษาสถานที่
             ของสมาคมและพัสดุ
ข้อ  15  กรรมการบริหารที่ไม่ใช่นายกสมาคมพ้นจากตำแหน่ง
ก.  ถึงกำหนดออกตามวาระ
ข.  ขาดจากสมาชิกภาพของสมาคม
ค.  ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ
ง.  ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้พ้นจากตำแหน่ง ( ทั้งคณะ )
จ.  นายกสมาคมให้พ้นจากตำแหน่ง
ฉ.  เมื่อนายกสมาคมพ้นจากตำแหน่ง    
ข้อ  15/1  นายกสมาคมพ้นจากตำแหน่ง
  ก.  ถึงกำหนดออกตามวาระ
   ข.  ขาดจากสมาชิกภาพของสมาคม
  ค.  ลาออกจากตำแหน่งต่อที่ประชุมใหญ่
  ง.  ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้พ้นจากตำแหน่ง
ข้อ  15/2  ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนคณะกรรมการบริหารชุดใหม่  ให้คณะกรรมการบริหาร
                ชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  จนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนคณะกรรมการบริหารชุดใหม่
ข้อ  16  การประชุมของคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของ
             จำนวนกรรมการทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ  17  มติของที่ประชุมกรรมการ  ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่
             ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ  18  กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า  5  คน มีสิทธิขอให้เรียกประชุมคณะกรรมการได้  เมื่อมีเหตุผล
             อันสมควร  ให้นายกเรียกประชุมคณะกรรมการตามคำขอทันที  โดยแจ้งให้คณะกรรมการ
             ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  7  วัน

หมวด  5

การประชุมใหญ่


ข้อ  19  ให้มีการประชุมใหญ่สามัญทุกปี  เพื่อพิจารณาระเบียบวาระต่อไปนี้             
             ก.  เพื่อพิจารณารายงานกิจกรรมของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจการของสมาคม ซึ่ง 
                  คณะกรรมการคณะนั้นได้บริหารมา
             ข.  เพื่อพิจารณาและอนุมัติบัญชีงบดุลสำหรับปีที่ล่วงมาแล้ว
             ค.  เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
             ง.  เพื่อปรึกษาพิจารณาอื่น ๆ 
ข้อ  20  การเลือกตั้งนายกสมาคมตามวาระหรือก่อนครบวาระ  ให้กระทำโดยที่ประชุมใหญ่
ข้อ  21  นอกจากการประชุมใหญ่สามัญ  คณะกรรมการอาจเรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้  หรือ
             สมาชิกไม่น้อยกว่า  1  ใน  3  ของสมาชิกทั้งหมด  ลงชื่อร้องขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ
ก็ได้  เมื่อนายกได้รับคำขอเช่นนี้  ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  โดยกำหนดนัดประชุมภายใน  
             30  วันนับแต่วันที่สมาชิกร้องขอ
ข้อ  22  ในการประชุมใหญ่  จะต้องแจ้งวัน  เวลา  และสถานที่นัดประชุม  โดยส่งเป็นหนังสือไปยัง
             สมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน  หรือปิด
             ประกาศในอาคารสำนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทุกแห่งเท่าที่สามารถกระทำได้
             ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ได้
ข้อ  23  การประชุมใหญ่  จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า  100  คนของสมาชิกทั้งหมด    จึงจะ
             เป็นองค์ประชุม  ญัตติใด ๆ เว้นแต่ที่เสนอโดยคณะกรรมการ  หรือกรรมคนใดคนหนึ่งต้องมี
             สมาชิกรับรอง  20  คน  เป็นอย่างน้อย
                   สมาชิกทั้งหลายมีสิทธิเข้าฟังการประชุมและแสดงความคิดเห็น  แต่สมาชิกสามัญเท่านั้น
             มีสิทธิเสนอญัตติและออกเสียงลงคะแนน
ข้อ  24  ในการประชุมใหญ่ครั้งใด  ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้  และการประชุมใหญ่นั้นได้
             เรียกตามคำร้องขอของสมาชิก  ก็ให้งดการประชุม  แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้
             เป็นผู้ร้องขอ ให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง  โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภาย
             ในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก  การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์
             ประชุม
ข้อ  25  สมาชิกสามัญมีสิทธิลงคะแนนเสียงคนละหนึ่งเสียง  การออกเสียงลงคะแนนเป็นสิทธิเฉพาะ
             ตัวของสมาชิก จะแต่งตั้งตัวแทนไม่ได้
ข้อ  26  การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้วิธียกมือ  มติของที่ประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมาก  หากคะแนน
             เสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด
ข้อ  27  ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่  หากนายกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้อุป
             นายกทำหน้าที่ประธานแทน
                   ในวาระเริ่มแรก  ให้มีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือผู้ที่ผู้ว่าการมอบหมาย
             เป็นนายกสมาคม
ข้อ  28  ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่  ซึ่งมีคะแนนเสียงเห็นชอบ
             ไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของจำนวนสมาชิกสามัญที่เข้าประชุม

หมวด  6

การเงินและการบัญชี


ข้อ  29  การเงินของสมาคมอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของคณะกรรมการในการทำนิติกรรมสัญญา
             และการจ่ายเช็คของสมาคม  ต้องประทับตราสมาคม  ลงลายมือชื่อนายกหรืออุปนายกคนใด
             คนหนึ่งร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขานุการ
ข้อ  30  ให้เหรัญญิกจัดให้มีบัญชีการเงินของสมาคมพร้อมด้วยใบสำคัญและหลักฐานให้ถูกต้องตาม
             หลักวิชาการบัญชี  การรับเงินทุกประเภทต้องมีหลักฐานการรับเงิน  การจ่ายเงินทุกรายต้องมี
             ใบสำคัญอันมีรายการจำนวนเงินถูกต้อง  ซึ่งได้รับอนุมัติจากนายกหรือผู้ได้รับมอบหมาย
                   หลักฐานการรับจ่ายต้องเก็บรักษาไว้เพื่อการตรวจสอบโดยเรียบร้อยครบถ้วนเป็นเวลาไม่
             น้อยกว่า  5  ปี
ข้อ  31  ให้นายกสมาคมมีอำนาจจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน  20,000 
             บาท   ถ้าเกินกว่านั้นให้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน
ข้อ  32  เงินของสมาคมให้ฝากไว้ในธนาคารพาณิชย์  หรือสหกรณ์ออมทรัพย์การทางพิเศษแห่ง
             ประเทศไทย จำกัด หรือสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งหรือหลายแห่งในนามของสมาคม              
             และเพื่อความสะดวกแก่การดำเนินงาน  ให้เหรัญญิกมีเงินสดประจำไว้ไม่เกิน  10,000  บาท 
             สำหรับใช้จ่ายเป็นรายย่อย
ข้อ  33  บัญชีของสมาคมสิ้นสุดเพียงวันที่  31  ธันวาคมของทุกปี  เหรัญญิกต้องทำบัญชีงบดุลเสนอ
             ให้ผู้สอบบัญชีของสมาคมตรวจสอบภายในเวลาอันสมควรพอที่จะเสนอให้ที่ประชุมใหญ่
             พิจารณาตามกำหนด
ข้อ  34  ให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งสมาชิกสามัญหรือจากบุคคลภายนอก  ซึ่งมิใช่เป็นกรรมการสมาคม
             ให้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี
ข้อ  35  ถ้าผู้สอบบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งไว้พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใด ๆ ก่อนทำการสอบ
             บัญชีเสร็จ  คณะกรรมการมีอำนาจให้บุคคลใด ๆ ที่ไม่ใช่กรรมการสมาคมทำการสอบบัญชีแทน
ข้อ  36  ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพเอกสาร  ทั้งของที่เกี่ยวกับบัญชีและการเงินของสมาคม
             และมีอำนาจสอบถามกรรมการและพนักงานของสมาคมเพื่อการดังกล่าวนั้น

หมวด  7


การเลิกสโมสร


ข้อ  37  เมื่อสมาคมต้องเลิกไปไม่ว่าเหตุใด ๆ ให้ที่ประชุมใหญ่ตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีขึ้น  และเมื่อชำระ
             บัญชีแล้ว  ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่ให้โอนให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย


หมายเหตุ  ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคมสโมสรพนักงานการทาง
                  พิเศษแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.  2548 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550


-------------------------------------













ระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 2
ว่าด้วย ชมรมสโมสร
-------------------------------


โดยเห็นควรปรับปรุงระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 ว่าด้วย ชมรมสโมสร  ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2529 ที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมสโมสรให้เจริญก้าวหน้า และสนันสนุนการรวมกลุ่มเป็นชมรม อาศัยอำนาจตามความในข้อ 14 แห่งข้อบังคับสโมสรพนักงานการทาง-
พิเศษแห่งประเทศไทย จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ว่าด้วย
ชมรมสโมสร”
ข้อ 2  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไป
ข้อ 3  ให้ยกเลิกระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 ว่าด้วย
ชมรมสโมสร ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2529 และให้ใช้ระเบียบฉบับนี้แทน
ข้อ 4  ในระเบียบนี้
“ชมรมสโมสร” หมายความว่า ชมรมสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารชมรมสโมสร
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกชมรมสโมสร
ข้อ 5  ชมรมสโมสรจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ให้เกิดความสามัคคีในหมู่สมาชิก
2) ให้สมาชิกได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรม
3) ส่งเสริมให้การดำเนินงานของสโมสร มีความเจริญก้าวหน้า และขยายวงกว้างออกไป
4) ส่งเสริมภาพลักษณ์และรักษาชื่อเสียงให้กับ กทพ.
ข้อ 6  ชมรมสโมสรแต่ละชมรมจะต้องระบุชื่อ “ชมรม.....................” และต่อท้ายชื่อชมรมว่า
“สโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย” พร้อมทั้งกำหนดเครื่องหมายของชมรมสโมสรให้สอดคล้องกับ
เครื่องหมายของสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ข้อ 7  ชมรมสโมสรจะต้องมีระเบียบ หรือข้อบังคับที่แน่นอน ซึ่งประกอบด้วย
-      ชื่อ  เครื่องหมาย
- วัตถุประสงค์
- สมาชิก
-      การดำเนินการของชมรมสโมสร
-     การประชุมใหญ่
-     การเงินและทรัพย์สิน
-     อื่น ๆ เท่าที่จำเป็น
ข้อ 8  ชมรมสโมสรจะต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 คน และก่อตั้งโดยได้รับความเห็นชอบ
จากสโมสร
ข้อ 9  สมาชิกของชมรมสโมสร จะต้องเป็นสมาชิกของสโมสรด้วย
ข้อ 10  การบริหารชมรมสโมสรจะต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการที่มีจำนวนอย่างน้อย 5 คน และอย่างมากไม่เกิน 15 คน ซึ่งประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน และกรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
กรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี
ข้อ 11  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
1) บริหารกิจการของชมรมสโมสรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
2) กำหนดระเบียบและวิธีการดำเนินการโดยไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และข้อบังคับ
    ของสโมสร
3) แต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ชมรมสโมสร
4) เรียกประชุมใหญ่ประจำปี
5) รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินของชมรมสโมสร
6) จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
7) อำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามระเบียบหรือข้อบังคับของชมรมสโมสร
ข้อ 12  คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
โดยมีวาระการประชุมอย่างน้อย ดังนี้
1) แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
2) แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
3) เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบวาระ
ข้อ 13  แหล่งที่มาของเงินชมรมสโมสร
1) เงินสนับสนุนที่สโมสรจัดสรรให้
2) เงินอุดหนุนหรือเงินบริจาคที่ได้รับจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก
3) ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมตามระเบียบหรือข้อบังคับของชมรมสโมสร
4) อื่น ๆ
ข้อ 14  สโมสรจะพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินในการดำเนินกิจกรรม ของชมรมสโมสร
ตามความเหมาะสม
ข้อ 15  ชมรมสโมสรที่จะขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากสโมสรจะต้องแจ้งความประสงค์
พร้อมทั้งเสนอโครงการหรือแผนงานประกอบ
ข้อ 16  ชมรมสโมสรจะต้องรายงานผลการดำเนินการ งบดุลประจำปี และรายงานการประชุม
สามัญประจำปีให้สโมสรทราบ ภายใน 60 วัน หลักจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของชมรมสโมสร
ข้อ 17  สโมสรอาจสั่งให้เลิกชมรมสโมสรได้ในกรณีต่อไปนี้
1) ชมรมสโมสรดำเนินการขัดต่อวัตถุประสงค์ของสโมสร
2) สมาชิกของชมรมสโมสรไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร่วมกัน
ยื่นคำร้องต่อสโมสรขอให้เลิก
3) ชมรมสโมสรกระทำการขัดต่อระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ว่าด้วย ชมรมสโมสร
ข้อ 18  ชมรมสโมสรอาจเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่สามัญหรือวิสามัญของชมรมสโมสร
โดยแจ้งมติของที่ประชุมใหญ่ให้สโมสรทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันประชุมใหญ่ และจะมีผลให้เลิกชมรมสโมสร
ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสโมสรจำหน่ายชื่อชมรมสโมสรออกจากทะเบียนชมรมสโมสร
ข้อ 19  เมื่อชมรมสโมสร ต้องเลิกไปว่าด้วยเหตุใด ชมรมสโมสรจะต้องโอนทรัพย์สินให้สโมสร
ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลิกชมรมสโมสร

ประกาศ  ณ  วันที่  30 เมษายน 2545


                                                                     (นายยืนหยัด  ใยสมุทร)
                                                      นายกสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประทศไทย





-------------------------











ระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประทศไทย
ฉบับที่ 3
ว่าด้วย ชมรมสโมสร (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
--------------------------------------------------


เพื่อให้ชมรมสโมสรสามารถรับสมาชิกจากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกของสโมสรได้ ซึ่งจะทำให้
กิจกรรมของชมรมสโมสรแพร่ขยายออกไปสู่บุคคลภายนอกได้อย่างกว้างขวาง อันเป็นการส่งเสริมกิจกรรม
ของสโมสรไปด้วยในเวลาเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ 14 แห่งข้อบังคับสโมสรพนักงานการทาง-
พิเศษแห่งประเทศไทย จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ว่าด้วย
ชมรมสโมสร (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)”
ข้อ 2  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 เป็นต้นไป
ข้อ 3  ให้ยกเลิกความในข้อ 9  ของระเบียบสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 2 ว่าด้วย ชมรมสโมสร ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2545

ประกาศ  ณ วันที่  16  กุมภาพันธ์ 2547



   (นายยืนหยัด  ใจสมุทร)
                                                     นายกสโมสรพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น